ภาษาถิ่น

ภาษาถิ่น เป็นภาษาย่อยที่ใช้พูดจากันในท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมาย ความเข้าใจกันระหว่างผู้คนที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งอาจจะแตกต่างไปจากมาตรฐาน หรือภาษาที่คนส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศใช้กัน และอาจจะแตกต่างจากภาษาในท้องถิ่นอื่นทั้งทางด้านเสียง คำและการใช้คำ ภาษาถิ่น เป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะทั้งถ้อยคำและสำเนียง
ภาษาถิ่นจะแสดงถึงเอกลักษณ์ ลักษณะความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของผู้คน ในท้องถิ่นของแต่ละภาคของประเทศไทย บางทีเรียกว่า ภาษาท้องถิ่น และหากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย และมีภาษาถิ่นย่อยๆ ลงไปอีก เช่น ภาษาถิ่นใต้ ก็มีภาษาสงฃลา ภาษานคร ภาษาตากใบ ภาษาสุราษฎร์ เป็นต้น ภาษาถิ่นทุกภาษาเป็นภาษาที่สำคัญในสังคมไทย เป็นภาษาที่บันทึกเรื่องราว ประสบการณ์ และวัฒนธรรมทุกแขนงของท้องถิ่น เราจึงควรรักษาภาษาถิ่นทุกถิ่นไว้ใช้ให้ถูกต้อง เพื่อเป็นสมบัติมรดกของชาติต่อไป ซึ่งภาษาถิ่นจะเป็นภาษาพูด หรือภาษาท่าทางมากกว่าภาษาเขียน ภาษาถิ่นของไทยจะแบ่งตาม ภูมิศาสตร์หรือท้องถิ่นที่ผู้พูดภาษานั้นอาศัยอยู่ในภาคต่างๆ แบ่งได้เป็น 4 ถิ่นใหญ่ๆ คือ

รายละเอียดเพิ่มเติม

ภาษาถิ่นพรานกระต่าย

บนเส้นทางพระร่วง จากประตูสะพานโคมโดยไปทางวัดอาวาสน้อย สองข้างทางประชาชน ส่วนใหญ่จะพูดภาษไทยกลาง พอเลยออกจากหมู่บ้านก็จะเป็นพื้นที่ไร่นา เป็นป่าโปรงเล็กๆ ไม่ค่อยจะพบบ้านเรือนประชาชนมากนัก ที่พบก็ใช้ภาษาไทยกลางดังกล่าวมาแล้ว แต่พอมาถึงบริเวณบ้านดงขวัญ ได้พบประชาชนหรือชาวบ้านบริเวณนั้น เริ่มพูดภาษาถิ่นกันมากขึ้น ได้สอบถามถึงภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันจึงทราบว่าเป็นภาษาพรานกระต่าย ชาวบ้านเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้อพยพมาจากอำเภอพรานกระต่าย ได้ใช้ภาษาพูดของคนสุโขทัย และไม่เหมือนที่ใด มีบางแหล่งกล่าวกันว่าคนพรานกระต่าย มีพื้นภาษามาจากลาวพรวน แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด และได้พบการใช้ภาษาถิ่นพรานกระต่ายมากขึ้นเป็นลำดับ ตลอดเส้นทางและจากการศึกษาข้อมูลต่างๆ จากชาวบ้านสองฝั่งถนนพระร่วงและในเขตชุมชนต่างๆ ในระดับตำบลและหมู่บ้าน ทำให้ทราบได้ว่า พื้นที่ที่ใช้ภาษาพรานกระต่ายมีอยู่ทั่วๆ ไป ดังนี้

รายละเอียดเพิ่มเติม